8.โรคไตเสื่อม และ ไตวาย โรคแทรกซ้อนอันดับ 1 ของ เบาหวาน

โรคไต

โรคเบาหวานเป็นปัจจัยหลักที่เป็นสาเหตุของการเกิด  โรคไตเสื่อมและไตวาย

กว่า 80% มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวาน โดยเบาหวานและไตวายมีความเชื่อมโยงกันดังต่อไปนี้

1. เนื่องจากโรคเบาหวาน ทำให้เซลล์ไม่สามารถดูดซึมน้ำตาลจากกระแสเลือดได้ตามปกติ จึงทำให้เซลล์ต่างๆได้รับพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการ ส่งผลให้กิจกรรมต่างๆ

ในเซลล์ลดประสิทธิภาพลง เซลล์ของไตเองก็เช่นกัน เมื่อได้รับพลังงานลดลง ประสิทธิภาพการทำงานของไตก็ลดลงจนเกิดการเสื่อมสภาพมากขึ้นตามระยะเวลา

2. สภาวะน้ำตาลในเลือดสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลา นานจากการเกิดโรคเบาหวาน ส่งผลต่อภาระการทำงานหนักของไตโดยตรง
เพราะไตมีหน้าที่ควบคุมระดับสารอาหารในกระแสเลือดให้อยู่ในระดับปกติ สงวนสารอาหารที่ดีให้คงไว้ และระบายของเสียในกระแสเลือดให้มีปริมาณลดลง

เมื่อน้ำตาลนั้น ถือเป็นสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย ไตจึงต้องพยายาม ดูดซับน้ำตาลไว้ให้มากที่สุด แทนที่จะระบายน้ำตาลที่มีมากเกินปกติออกไปให้หมด จึงเป็นภาวะหนักของไตที่ต้องทำหน้าที่นี้อย่างต่อเนื่อง

3. ผลจากการบำบัดเบาหวานโดยการใช้ยาเป็นเวลายาวนาน ส่งผลให้เกิดของเสียจากสารเคมีที่ใช้ผลิตยาในกระแสเลือด และเป็นหน้าที่ของไตเช่นกันที่ต้องทำการกำจัดออก เมื่อต้องทำหน้าที่นี้ เป็นเวลายาวนานก็ส่งผลเสียต่อไตเช่นเดียวกัน

ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน จะทำให้ไตต้องทำงานหนักมากกว่าคน ปกติอย่างน้อย 3 เท่า อันเป็นที่มาของไตเสื่อมและไตวายในที่สุดครับ

ไต2ชนิด

ลักษณะอาการ มีดังต่อไปนี้

1.มีภาวะโปรตีนชนิดอัลบูมินรั่วออกมาในปัสสาวะ ระยะแรกมีปริมาณเล็กน้อย และมากขึ้นตามลำดับ

2.มีความดันโลหิตสูง

3.การทำงานของไต ในระยะแรกจะปกติ ต่อมาจะเริ่มเสื่อม และเสื่อมมากขึ้นจนเกิดโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายในที่สุด

ดูแลอย่างไร

7 แนวทางการป้องกันและรักษา

1.ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับดี

2.ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท

3.ผู้ป่วยเบาหวานที่มีอัลบูมินในปัสสาวะ และ/หรือมีภาวะความดันโลหิตสูงต้องได้รับการรักษา ควบคุมระดับความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของไต

4.ควรได้รับคำแนะนำและควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ อย่างเหมาะสม ได้แก่ การควบคุมระดับไขมันในเลือด การควบคุมน้ำหนัก การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
และงดสูบบุหรี่

5.ควรได้รับการดูแลรักษาเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เช่น จำกัดปริมาณโปรตีนในอาหารให้เหมาะสม

6.หลีกเลี่ยงอาหารขยะ Junk food 

7.หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ

ขอบคุณข้อมูล : ศ.เกียรติคุณ แพทย์หญิงวรรณี นิธิยานันท์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบา

Screenshot_2

tai