17.น้ำตาลหญ้าหวานดีกว่าน้ำตาลเทียมอย่างไร ปลอดภัยหรือไม่

น้ำตาลหญ้าหวานดีกว่าน้ำตาลเทียมอย่างไร Estevia

สตีวิออลไกลโคไซด์ (steviol glycoside) เป็นสารที่สกัดได้จากหญ้าหวาน เป็นสารให้ความหวาน (sweetener) ใช้ทดแทนน้ำตาล (sugar substitute) ให้รสหวานจัด มีความหวานสัมพัทธ์ (relative sweetness) ประมาณ 280-400 เท่าของน้ำตาลทราย

สตีวิโอไซด์เป็นสารที่สกัดได้จากหญ้าหวาน มีชื่อทางพฤษศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni ซึ่งเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเป็นพุ่ม มีกำเนิดแถบ อเมริกาใต้ ใบของต้นหญ้าหวานมีรสหวาน ใช้นำมาชงเป็นชา หรือใส่ในเครื่องดื่ม ใบแห้งของต้นหญ้าหวานมีสารสตีวิโอไซต์ประมาณ15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ให้ความหวานประมาณ 10-15 เท่าของน้ำตาลทราย

การใช้ประโยชน์

สตีวิออลไกลโคไซด์ใช้เป็นสารให้ความหวานในผลิตภัณฑ์อาหาร ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารค่อนข้างแพร่หลาย เช่น หมากฝรั่ง ลูกกวาด เครื่องดื่มน้ำอัดลม ไอศกรีม แยม เยลลี่ มาร์มาเลด มีข้อดีคือ

  • ไม่ถูกดูดซึมในระบบการย่อย ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานต่ำ ประมาณร้อยละ 0-3 แคลอรี จึงเหมาะที่จะใช้เป็นสารให้ความหวานกับอาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • ไม่เกิดปฏิกิริยาสีน้ำตาล (browning reaction) ซึ่งเป็นสาเหตุให้อาหารเกิดไหม้เมื่อผ่านความร้อนสูง
  • ไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ไม่เสื่อมเสียเนื่องจากจุลินทรีย์ 

ความปลอดภัย

ผลการศึกษาถึงความปลอดภัยของสตีวิออลไกลโคไซด์ในอาหาร เป็นเวลานานจนถึงปัจจุบันปรากฏว่ามีแนวโน้มทางด้านความปลอดภัยที่ดี เมื่อต้นปี ค.ศ. 2009 ประเทศสหรัฐอเมริกาโดย USFDA ได้พิจารณาและประกาศว่า หญ้าหวานได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย “Generally Recognized As Safe (GRAS) ” โดยอ้างอิงถึงรายงานผลงานวิจัยของตัวเองที่รายงานด้านความเป็นพิษ LD50 5.2 กรัม/น้ำหนัก กก. สำหรับแฮมสเตอร์เพศผู้ และ 6.1 กรัม/น้ำหนัก กก.สำหรับแฮมสเตอร์เพศเมีย และอ้างอิงถึงรายงานวิจัยทางบวกจากนานาชาติ

สหภาพยุโรป EU อนุญาติให้ใช้เติมในอาหารได้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011

คนญี่ปุ่นและเกาหลี ใช้กันมานานทั้งในการหมักเนื้อ หมักปลา หมักผักดอง เครื่องดื่ม รวมไปถึงยาสีฟัน

สำหรับในประเทศไทย  มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ ๓๙๐ (พ.ศ. ๒๕๖๑) ตามพระราชบัญญัติอาหาร พศ. ๒๕๒๒ เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการใช้วัตถุในอาหารที่ผลิตเพื่อจำหน่าย นำเข้าเพื่อจำหน่าย หรือที่จำหน่าย ให้หญ้าหวานที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Stevia rebaudiana Bertoni และผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวาน อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะกรณีต่อไปนี้ เท่านั้น
1.ใบหญ้าหวานเป็นชาสมุนไพร
2.สตีวิออลไกลโคไซด์ (Steviol glycoside) เป็นวัตถุเจือปนอาหาร อ้างอิงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ ๓๖๐) พ.ศ. ๒๕๕๖ เรื่องสตีวิออลไกลโคไซด์
3.หญ้าหวานหรือผลิตภัณฑ์จากหญ้าหวานที่ผลิตเพื่อส่งออก

ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้มีการขึ้นทะเบียนให้สามารถใช้สารสตีวิออลไกลโคไซด์(สารสกัดจากใบหญ้าหวาน) เพื่อการบริโภคแทนน้ำตาลได้ ใส่เครื่องดื่ม ทำอาหาร มีความปลอดภัยสูง ไม่มีอันตราย ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ 

ฤทธิ์ในการออกรสหวานของสารสตีวิออลไกลโคไซด์ จะไม่เหมือนกับน้ำตาลซะทีเดียว เนื่องจากสารสกัดจากหญ้าหวานจะออกรสหวานช้ากว่าน้ำตาลทราย และรสหวานของสารสตีวิออลไกลโคไซด์จะหายไปช้ากว่าน้ำตาลทราย แต่สารดังกล่าวยังเป็นสารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารแต่อย่างใด ไม่ให้พลังงานใดๆต่อร่างกาย ไม่ไมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด โดยส่วนใหญ่แล้วสารสกัดจากใบหญ้าหวาน หรือน้ำตาลหญ้าหวาน จะมักถูกนำไปผสมกับสารให้ความหวานตัวอื่นๆที่หวานน้อยกว่าน้ำตาลแต่มีความปลอดภัย เช่น มอลทิทอล อิริทริทอล อินูลิน เพื่อรสชาติที่หวานไม่ติดขม และง่ายต่อการชั่งตวงใช้  จึงถือเป็นจุดเด่นที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน และคอเลสเตอรอลสูง